วันพุธที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

แปลงร่างดนตรีสู่เรขาคณิต คลาสสิคเป็นโคน-แจ๊สเป็นปิรามิด


ภาพโคน 3 มิติแสดงถึงดนตรีคลาสสิคที่นักคณิตศาสตร์คิดค้นขึ้นมา โดยจุดสีส้มแสดงคอร์ดเมเจอร์และไมเนอร์

ไลฟ์ไซน์ - เราพบการเชื่อมโยงระหว่างคณิตศาสตร์และดนตรีในหลายครั้ง ตั้งแต่แนวคิดเกี่ยวกับการเปิดเพลงของโมสาร์ทให้เด็กๆ ฟังอาจช่วยพัฒนาความสามารถทางด้านคณิตศาสตร์ของพวกเขาได้ ไปจนถึงความเชื่อโบราณที่ว่าการเคลื่อนที่ของดวงดาวสามารถแปลงเป็นรูปของ ดนตรีได้ แต่คงเป็นเรื่องที่ใครพูดได้ลำบากว่า "ดนตรี" นั้นหน้าตาเป็นอย่างไร

ล่าสุดทีม นักคณิตศาสตร์จากสหรัฐอเมริกาได้สร้างระบบทางคณิตศาสตร์ เพื่อสร้างความเข้าใจในดนตรี และได้ถอดแบบ "เพลงคลาสสิค" ออกมาเป็นรูปโคน ส่วน "ดนตรีแจ๊ส" มีรูปร่างคล้ายปิรามิด โดย คลิฟตัน คาลเลนเดอร์ (Clifton Callender) จากมหาวิทยาลัยฟลอลิดาสเตท (Florida State University) เอียน ควินน์ (Ian Quinn) จากมหาวิทยาลัยเยล (Yale University) และ ดิมิทรี ทีม็อคซ์โก (Dmitri Tymoczko) จากมหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน (Princeton University) ได้ร่วมกันศึกษาระบบดังกล่าวและตีพิมพ์ผลงานลงวารสาร "ไซน์" (Science) ในหัวข้อ "ทฤษฎีดนตรีเชิงเรขาคณิต" (geometrical music theory)

ทั้ง 3 คนได้ร่วมกันออกแบบเทคนิคเชิงเรขาคณิต เพื่อทำแผนที่ทางดนตรีในระยะพิกัดปริภูมิ (space) สำหรับดนตรี ซึ่งสร้างขึ้นจากคอร์ดที่ประกอบไปด้วยโน้ต 2 ตัว เป็นไปได้ที่จะมีรูปร่างเหมือนแทบโมเบียส (Moebius strip) ซึ่งแรกทีเดียวดูคล้ายแถบที่บิดเป็นเกลียว แต่แท้จริงคือรูปทรงเรขาคณิตที่มีเพียงด้านเดียว ไม่มีด้านนอก ไม่มีด้านใน ไม่มีจุดเริ่มและไม่มีจุดสิ้นสุด

ขณะที่ดนตรีซึ่งประกอบขึ้นจากโน้ต 3 ตัวมีรูปร่างเหมือนรูปทรงโคนไอศครีม โดยประเภทของคอร์ดอย่างเมเจอร์ (major) และไมเนอร์ (minor) เป็นจุดที่เป็นลักษณะเฉพาะอยู่บนโคน ส่วนคอร์ดดนตรีที่มี 4 ตัวโน้ตจะทำแผนภาพได้บนระนาบที่ประกอบขึ้นเป็นรูปทรงปิรามิดในระนาบจริง 3 มิติ

" คุณใช้ปริภูมิเชิงเรขาคณิตนี้สร้างเส้นทางสำหรับชิ้นส่วนเสมือนทางดนตรีนี้ ได้ ปริภูมิเหล่านี้ทำให้เราได้ภาพของคอร์ดทั้งหมดดีกว่าและครอบคลุมกว่าเดิม มาก" ทีม็อคซ์โกกล่าว

ทางด้านควินน์กล่าวว่าพวกเขารู้สึกทึ่งเมื่อได้ภาพแรกของคอร์ดดนตรี 2 ตัวโน้ตเป็นแถบโมเบียสซึ่งเป็นรูปแบบทางคณิตศาสตร์พื้นฐานที่ค้นพบเมื่อ ศตวรรษที่ 19 แต่ก็ไม่ได้ถึงขั้นประหลาดใจ เพราะว่านักปะพันธ์เพลงคนใดก็ตามที่ใช้เวลาอย่างไร้ประโยชน์ไปกับเปียโนอยู่ เป็นนิจจะเกิดอาการที่นิ้วขยับไม่ออกเหมือนมีอะไรพันอยู่ ซึ่งเป็นไปได้ว่าไม่ใช่เรื่องบังเอิญที่คณิตศาสตร์และดนตรีเชื่อมโยงกัน อย่างลึกซึ้ง

"ใน เมื่อดนตรีไม่มีคำพูด ก็ไม่จำเป็นต้องเหมือนทุกสิ่งในโลกจริง นี่เป็นคุณลักษณะที่ทำให้คนเรารู้สึกทึ่ง และพบความน่าทึ่งกับสิ่งที่น่าขนลุกเล็กน้อย ตามหลักแล้วภาพวาดมักจะดูคล้ายสิ่งของ บทกวีและงานประพันธ์ก็จะกล่าวถึงวัตถุสิ่งของ หากแต่ดนตรีคือสิ่งที่เข้าใกล้ความจริงอันบริสุทธิ์ และผู้คนก็พูดถึงคณิตศาสตร์ในลักษณะเดียวกัน ไม่จำเป็นต้องพูดถึงสิ่งใดๆ เลย เพียงแค่ความจริงเท่านั้น" ควินน์กล่าว

ทีม็อคซ์โกกล่าวว่าเทคนิคใหม่นี้เผยให้เห็นความแตกต่างที่ชวนให้หลง สเน่ห์ระหว่างดนตรีร็อคกับดนตรีคลาสสิค หรือแม้กระทั่งความแตกต่างของนักดนตรีอย่างพอล แมคคาร์ทนีย์ (Paul McCartney) และจอห์น เลนนอน (John Lennon) โดยภาพบทเพลงของแมคคาร์ทนีย์สร้างขึ้นจากการใช้จำนวนของการเคลื่อนไหวเล็กๆ ในปริภูมิเชิงเรขาคณิต สอดคล้องกับวิธีการดั้งเดิมกับการประสานเสียง ขณะที่เลนนอนใช้ทางเลือกที่หลากหลายกว่าสะท้อนให้เห็นรากของความเป็นดนตรี ร็อคของเขา

ทีม็อคซ์โกกล่าวว่าสิ่งที่น่าตื่นเต้นจริงๆ เกี่ยวกับงานวิจัยนี้คือ ทำให้เราเห็นคนสามัญธรรมดาท่ามกลางความแตกต่างอย่างมากของนักดนตรี ในบางแง่ บาค (Bach) และเดอะบีทเทิลส์ (the Beatles) มีรากฐานที่ไม่ต่างกันนักและมีคุณลักษณะเชิงเรขาคณิตที่เหมือนกัน เมื่อมองแก่นสารเชิงคณิตศาสตร์ที่เบื้องหลังนักดนตรีและรูปแบบทางดนตรีที่ หลากหลายแล้ว นักวิทยาศาสตร์สามารถเข้าใจได้ดีขึ้นถึงความสัมพันธ์ระหว่างกัน

"แม้ว่าการวิเคราะห์คณิตศาสตร์ที่อยู่เบื้องหลังดนตรี จะทำให้ได้ภาพที่หลากหลายแต่ก็ไม่ได้ตอบคำถามทั้งหมดของเรา หลายคนพูดว่า 'งานวิจัยนี้จะช่วยให้เราเข้าใจได้หรือไม่ว่าเพลงไหนของบริทนีย์จะฮิตและเพลงไหนไม่?' ไม่สามารถคาดหวังได้อย่างนั้น ไม่มีทางที่เรขาคณิตจะช่วยให้เรากลายเป็นผู้ประพันธ์เพลงที่ยิ่งใหญ่"

"ความเข้าใจในเรขาคณิตช่วยให้เราเป็นเพียงคนเขียนเพลงธรรมดาๆ ได้อย่างรวดเร็ว แต่การประพันธ์เพลงคือการบรรลุความสำเร็จทางศิลปะ ไม่มีถนนใหญ่โตพาเราไปสู่การเป็นนักดนตรีที่ยิ่งใหญ่ เราไม่มีทางทำให้ความลึกลับหายไปจากดนตรี" ทีม็อคซ์โกกล่าว.

ขอบคุณแหล่งที่มา/http://www.manager.co.th


how-do-i-download-on-my-psp-for-free
free-online-multiplayer
cool-math
play-toddler-online
printable-word-concentration
adventure
free-online-racing
free-card
playstation-2-game-cheats
free-online-tycoon

โอ้...คลิปสุดฮิต คลื่นมือถือแรงขนาดทำ "ป็อปคอร์น" ได้ไง ?!!

ใครที่เป็นนักท่องอินเทอร์เน็ตตัวยง คงจะผ่านหูผ่านตาคลิป การทำให้ข้าวโพดกลายเป็น "ป็อปคอร์น" ด้วยการวางเมล็ดข้าวโพด ท่ามกลางมือถือ 3-4 เครื่อง จากนั้นก็กดเรียกมือถือทุกเครื่องพร้อมๆ กัน

ทันใดนั้น เมล็ดข้าวโพดก็แตกกระจายดัง "ป็อปๆๆ"


หลังจากคลิปนี้ ได้รับการเผยแพร่ไปเพียงสัปดาห์กว่าๆ ก็มีคนคลิกเข้าไป "ทึ่ง" กว่า 4 ล้านคนแล้ว

จากนั้น ผู้จัดการวิทยาศาสตร์พบว่า มีคลิปการทดลองคล้ายๆ กันนี้อีกหลายเวอร์ชันทั้งจากสหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศสและญี่ปุ่น

มือถือคั่ว "ป็อปคอร์น" ได้จริงหรือ?

ความน่าอัศจรรย์ในมือถือ ที่ส่งผลให้ข้าวโพดแตกตัวจนสุกได้นี้ สร้างความฉงนให้กลับหลายคนไม่น้อย และก็มีบรรดาบล็อกเกอร์ (Blogger) ตามเว็บไซต์ต่างๆ ออกมาวิเคราะห์ และพยายามอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้น

นักเขียนของเว็บไซต์ไวร์ดอตคอม (Wire.com) ได้รายงานคำให้สัมภาษณ์ของ ศ.หลุยส์ บลูมฟิล์ด (Louis Bloomfield) อาจารย์ฟิสิกส์จากมหาวิทยาลัยเวอร์จิเนีย (University of Virginia) สหรัฐอเมริกาว่า คลิปเหล่านั้นน่าเอ็นดู แต่ก็ไม่มีทางเกิดขึ้นได้

แม้จะดูเป็นการเล่นกลที่แสนฉลาด แต่คลิปเหล่านี้ก็มีจุดให้จับผิดว่า สิ่งที่เขาทั้งหลายนำเสนอ ต่อผู้คนนับล้านนั้น "เป็นไปไม่ได้"

เหตุผลที่ทางศาสตราจารย์ฟิสิกส์จากเวอร์จิเนียอธิบายคือ เตาไมโครเวฟนั้นมีพลังงาน ที่จะกระตุ้นให้น้ำภายในเมล็ดข้าวโพดกลายเป็นก๊าซที่มีความดันสูง อันเป็นสาเหตุให้เมล็ดพองจนระเบิดดัง "ป็อป"

แต่หากมือถือปลดปล่อยพลังงาน ได้มากอย่างเตาไมโครเวฟแล้ว น้ำภายในมือ ของคนที่ถือโทรศัพท์เคลื่อนที่ย่อมต้องร้อนขึ้นด้วย

"มันเจ็บปวดมากเลยนะนั่น แม้เป็นไปได้ว่า มือถืออาจจะทำให้เนื้อเยื่อของคุณอุ่นขึ้น แต่การศึกษาก็บ่งชี้ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นไม่ทำให้เจ็บปวด" ศ.บลูมฟิล์ดกล่าว

เขาอธิบายเพิ่มเติมว่าการโทรเข้า ให้โทรศัพท์เสียงดังขึ้นไม่ได้ช่วยให้ข้าวโพดพองได้ เพราะแต่ละเครื่องจะรบกวนการทำงานกันเอง และจะรับสัญญาณจากเสาส่งสัญญาณ ไม่ใช่ส่งผ่านสัญญาณ (ไปยังข้าวโพด)

นอกจากนี้เป็นไปได้ ที่จะให้ความร้อนด้วยเสียง แต่ไม่มีทางเกิดขึ้นได้กับเสียงเบาๆ จากโทรศัพท์เคลื่อนที่

"คงต้องให้นักร้องโอเปรามารวมตัวกัน และลองทำให้เมล็ดข้าวโพดแตกได้" ศ.บลูมฟิล์ดกล่าว


ภาพจากคลิปการทดลองทำข้าวโพดคั่วด้วยมือถือจากยูทูบ


คั่วข้าวโพดด้วยมือถือที่แท้คือ....?

หลายคนเชื่อว่า คลิปดังกล่าวเป็นการโฆษณาของค่ายมือถือ เนื่องจากมีโทรศัพท์ยี่ห้อโนเกีย และโซนีอิริคสัน เรียงรายอยู่ในคลิป

กิซโมรีพับลิค (gizmorepublic) สื่อออนไลน์เฉพาะทางด้านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์จากแคนาดา วิเคราะห์ว่าไม่น่าใช่ เพราะข้อ ความที่แฝงอยู่ในคลิป น่าจะทำให้ผู้คนเห็นด้านลบของการใช้โทรศัพท์มากกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อผู้ใช้มาอยู่รวมกันมากๆ อย่างในงานปาร์ตี้ เป็นต้น

ส่วนสน็อปส์ด็อทคอม (Snopes.com) เว็บไซต์ ที่เป็นแหล่งรวมคำชี้แจงเรื่องจริง-เรื่องเท็จ และเรื่องเข้าใจผิดต่างๆ ได้ให้ข้อมูลว่า การชักชวนให้เข้าใจผิดทำนองนี้เคยเกิดขึ้นแล้ว

พร้อมทั้งยกข้อมูลจากอีเมล ที่ส่งต่อกันมาจนสร้างความตื่นตระหนกถึงอันตรายของมือถือมาแล้ว นั่นคือการทดลองใช้มือถือเพียง 2 เครื่องทำให้ไข่สุก แต่เมื่อรายการโทรทัศน์ด้านวิทยาศาสตร์ของสหราชอาณาจักรได้ทดลองที่จะต้มไข่ ด้วยมือถือถึง 100 เครื่องกลับไม่เกิดผลใดๆ ขึ้น

เมื่อปี 2543 เว็บไซต์วิมซีวิลเลจเว็บ (Wimsey Village Web) ได้เผยแพร่บทความเกี่ยวกับการทำไข่ให้สุกด้วยมือถือ 2 เครื่อง พร้อมชี้ว่า หากมือถือทำให้ไข่ที่อยู่ภายใต้เปลือกสุกได้ แล้วจินตนาการดูว่ามือถือจะกระทำกับสมองของเราอย่างไร หากแต่ภายหลังผู้ก่อตั้งไ ด้ออกมาเผยว่าเป็นการเย้าแหย่ผู้ที่กลัวเทคโนโลยีเท่านั้นเอง

ด้านไวร์ดอตคอม ยังพยายามสอบถามไปยังค่ายมือถือต่างๆ แต่ก็ไม่ได้รับการตอบรับ ขณะที่ตัวแทนจากโซนีอิริคสัน ระบุเพียงว่าไม่ได้ตื่นกับคลิปที่ออก แต่อย่างใด

ขอบคุณแหล่งที่มา/http://www.manager.co.th


การลวงหลอกทำนองนี้เคยเกิดขึ้นมากับกรณีต้มไข่ที่หลายคนโดนต้มเสียเปื่อย



แต่ แล้วในที่สุด ความจริงก็เฉลยออกมาว่า คลิปนี้คือแผนการโฆษณาของ คาร์โดซิสเต็มสอิงค์ (Cardo Systems, Inc) ผู้จำหน่ายชุดหูฟังบลูทูธ

คาร์ โดทำคลิปโฆษณาชิ้นนี้ขึ้น เพื่อทำให้ผู้รับชมเห็นว่าคลื่นมือถือนั้น ช่างรุนแรงขนาดไหน และน่าจะทำให้ผู้บริโภคหวั่นที่จะใช้โทรศัพท์มือถือโดยตรง และนั่นก็จะทำให้หันไปใช้ ชุดหูฟังบลูทูธที่ทางบริษัทจัดจำหน่ายนั่นเอง

คลิปชิ้นนี้ ถือว่าประสบความสำเร็จในการทำการตลาดแบบปากต่อปาก (viral marketing) ที่อาศัยเครือข่ายใหญ่ในโลกอินเทอร์เน็ตอย่างยูทูบ ชักชวนผู้คนเข้ามาชมได้มากถึง 4 ล้านคลิก

ทว่า... ในยามที่คาร์โด ออกมาเฉลยแล้วว่า คลิปที่โพสต์ลงไปนั้น มันคือโลกมายา เพื่อเป็นสื่อโฆษณา ประชาชนที่ผ่านมาไปมา 4 ล้านกว่าคลิกนั้น จะได้รับคำไขข้อข้องใจนี้หรือไม่ หรือคุณๆ อาจจะได้รับฟอร์เวิร์ดเมล์ "มือถือคั่วป็อบคอร์นได้" โดยไร้คำเฉลย วนเวียนไปมาอยู่ในอินบอกซ์อีกนานแน่นอน.


ขอบคุณแหล่งที่มา/http://www.manager.co.th
play-free
street-racing
shockwave
toddlers-computer
educational
free-romantic-for-couples
max
best-virtual-life
free-for-nokia
free-cell-phone

เกิดอะไรกันแน่ที่ “ทังกัสกา” ปริศนากว่าศตวรรษยังคงคาใจ??


สภาพป่าทังกัสกาหลังถูก ลูกไฟเผาอย่างลึกลับซึ่งคณะสำรวจของกูลิกบันทึกไว้หลังเดินทางเข้าไปสำรวจ 19 ปีหลังจากเกิดเหตุ (ภาพจากไซน์เดลี)

คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น
ทะเลสาบ เชคโกซึ่งไม่เคยอยู่ในแผนที่ก่อนเกิดเหตุการณ์ทังกัสกาเลย และทีมสำรวจจากอิตาลีจะได้เข้าไปสำรวจในปีหน้า หลังข้อมูลเรดาร์ระบุมีวัตถุหนาแน่นอยู่ก้นทะเลสาบ (ภาพจากมหาวิทยาลัยโบลอกนา/บีบีซีนิวส์)

ส่วนหนึ่งของป่าทังกัสกาในปัจจุบันซึ่งได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์เมื่อ 100 ปีก่อน และยังคงเป็นที่สนใจ (ภาพจากบีบีซีนิวส์)

ภาพ บน (จากมหาวิทยาลับโบโลญญา) สภาพป่าทังกัสกาในปัจจุบัน ที่ยังคงเห็นต้นไม้ที่ล้มระเนระนาดจากเหตุการณ์เมื่อ 100 ปีก่อน และภาพล่าง (จากบีบีซีนิวส์) กระท่อมที่กูลิกและคณะใช้พักระหว่างสำรวจสถานที่เกิดเหตุทังกัสกา

ผ่านไป 100 ปี เหตุการณ์อุกกาบาตถล่มป่า “ทังกัสกา” ยังคงเป็นปริศนา และมีคำถามที่คาใจว่าวัตถุที่มีอานุภาพทำลายล้างรุนแรงนี้คืออะไร บ้างก็ตั้งคำถามวัตถุลึกลับดังกล่าวมาจากนอกโลกจริง หรือเป็นวัตถุที่ในโลกของเราเอง ขณะที่นักวิทย์อีกกลุ่มพบทะเลสาบที่เกิดขึ้นหลังเหตุอุกกาบาตถล่มโลก เตรียมสำรวจหาความเชื่อมโยงปีหน้า

ย้อนกลับไป 100 ปีก่อน เมื่อวันที่ 30 มิ.ย.2451 เกิดเหตุระเบิดขึ้นใกล้กับแม่น้ำพอดกาเมนนายา ทังกัสกา (Podkamennaya Tunguska River) ด้วยความรุนแรงที่สเปซดอตคอมระบุว่า เทียบเท่าระเบิดทีเอ็นที 10-20 เมกะตัน เรียกได้ว่ารุนแรงกว่าระเบิดปรมาณูที่ถล่มเมืองฮิโรชิมาของญี่ปุ่นกว่า 1,000 เท่าเลยทีเดียว และสร้างความเสียหายให้แก่พื้นที่โดยรอบ 2,150 ตารางกิโลเมตร

ตามรายงานของเอเอฟพี และสเปซเดลี ยังระบุอีกว่า อุกกาบาต มหาภัยนี้เผาผลาญต้นไม้ในป่าแถบไซบีเรียไป 80 ล้านต้น อีกทั้งยังทำให้เกิดความรุนแรงเทียบเท่าแผ่นดินไหว 5 ริกเตอร์ ซึ่งรับรู้ได้ไกลถึงประเทศอังกฤษเลยทีเดียว และเนื่องจากการหมุนของโลก หากอุกกาบาตนี้ตกช้าไป 4 ชั่วโมง 47 นาที จะทำให้เซนต์ปีเตอร์เบิร์ก อดีตเมืองหลวงของรัสเซียตกเป็นเป้านิ่งและถูกทำลายอย่างย่อยยับทันที

เหตุการณ์ดังกล่าวได้รับการขนานนามตามชื่อแม่น้ำซึ่งอยู่ใกล้สถานที่ เกิดเหตุ ถึงแม้จะเป็นเหตุการณ์ที่สั่นสะเทือนไปทั่วโลก แต่สถานการณ์การเมืองโลกตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 1 การปฏิวัติรัสเซียไปจนถึงสงครามกลางเมืองต่างๆ ก็ได้เบียดบังความสนใจชาวโลกให้ลืมมันไปเกือบ 20 ปีเลยทีเดียว

กระทั่งเมื่อ 2470 ลีโอนิด กูลิก (Leonid Kulik) ผู้เชี่ยวชาญด้านอุกกาบาตชาวรัสเซียได้นำทีมสำรวจพื้นที่เพื่อค้นหาร่องรอยที่เหลือ แต่เขาก็ล้มเหลวในการค้นหาหลุมที่เกิดจากการชน

หลังจากนั้นทีมสำรวจในอีก 33 ปีก็ยังคงล้มเหลวในการค้นหาหลุมอุกกาบาต นักวิทยาศาสตร์จึงเผชิญกับความลึกลับของเหตุการณ์ทังกัสกาที่สร้างความเสีย มากกว่าสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่กลับไม่ทิ้งร่องรอยไว้

อีกทั้งเมื่อทศวรรษก่อน นักวิจัยหลายคนคาดเดาว่า อุกกาบาตที่พุ่งชนโลกนั้นน่าจะมีความกว้างราวๆ 30 เมตร และมีมวล 560,000 ตัน แต่การจำลองด้วยคอมพิวเตอร์ล่าสุดบ่งชี้ว่า อุกกาบาตที่เป็นสาเหตุของความเสียหายใหญ่โตนี้มีขนาดเล็กกว่าที่เคยคาดไว้ มาก

มาร์ก บอสลาฟ (Mark Boslough) นักฟิสิกส์จากห้องปฏิบัติการแซนเดียแห่งสหรัฐฯ ในอัลบูเคอร์คิว (Sandia National Laboratory in Albuquerque) นิวเม็กซิโก พร้อมด้วยคณะระบุว่า อุกกาบาตแห่งทังกัสกานี้น่าจะเล็กกว่าที่เคยคาด 3-4 เท่า และมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 20 เมตร

“เมื่อ อุกกาบาตระเบิดหลังจากพุ่งเข้าสู่ชั้นบรรยากาศโลก บอสลาฟและคณะคำนวณว่าจะเกิดก๊าซที่ร้อนยิ่งยวด และมีความเร็วเหนือเสียง ลูกไฟที่เกิดขึ้นเป็นสาเหตุของคลื่นระเบิดที่สร้างความเสียหายรุนแรงกว่าที่ เคยคิดกัน” สเปซดอตคอมรายงานสิ่งที่บอสลาฟและคณะคำนวณได้

บางทฤษฎีว่า การระเบิดในทุ่งทังกัสกานั้นน่าจะเกิดขึ้นจากใต้แผ่นดินนี่เอง โดยโวล์ฟกัง คุนด์ท (Wolfgang Kundt) นักดาราศาสตร์ฟิสิกส์จากมหาวิทยาลัยบอนน์ (University of Bonn) ในเยอรมนี และนักวิทยาศาสตร์บางส่วนแสดงความเห็นว่า เปลวไฟซึ่งสว่างถึงขั้นที่ชาวลอนดอน สามารถอ่านหนังสือในย่ามค่ำคืนได้อย่างสบายๆ นั้นน่าจะเกิดจากการปะทุของก๊าซธรรมชาติในคิมเบอร์ไลต์ (kimberlite) หินภูเขาไฟซึ่งรู้จักกันดีว่าบางครั้งเราอาจพบเพชรในหินชนิดนี้

“อาจ เกิดจากของเหลวภายในโลกซึ่งอยู่ลึกลงไป 3,000 กิโลเมตร ก๊าซธรรมชาติถูกกักเก็บไว้ในรูปของเหลว และเมื่อสัมผัสอากาศก็กลายเป็นก๊าซที่มีปริมาตรเพิ่มขึ้นเป็นพันเท่า แล้วเกิดระเบิดครั้งใหญ่ขึ้น” คุนด์ทกล่าว และเพื่อสนับสนุนแนวคิดนี้เขาได้อ้างถึงลักษณะของต้นไม้และสารเคมีที่ผิดปกติ

อีกทฤษฎีที่น่าสนใจซึ่งบีบีซีนิวส์รายงานไว้ คือ อุกกาบาตที่ถล่มทังกัสกาอาจเป็นชิ้นส่วนของดาวหางเองเค (Encke) ซึ่งสายธารฝุ่นของดาวหางดวงนี้ ทำให้เกิดฝนดาวตกเบตาทอริดส์ (Beta Taurids) ระหว่างเดือน มิ.ย.-ก.ค.ของทุกปี และเป็นช่วงเดือนใกล้เคียงกับที่เหตุการณ์ทังกัสกา และหากมีหลุมขนาดใหญ่สักแห่งก็จะนำไปสู่ทฤษฎีใหม่ๆ ที่เชื่อมโยงเหตุการณ์ทังกัสกาได้

อย่างไรก็ดี เมื่อปี 2550 จูเซปเป ลองโก (Giuseppe Longo) และคณะจากมหาวิทยาลัยโบโลญญา (University of Bologna) อิตาลี ระบุว่าพวกเขาอาจพบบางสิ่งที่กูลิกได้พลาดไปเมื่อหลายปีก่อน โดยทะเลสาบเชกโก (Lake Cheko) นั้นไม่เคยปรากฏอยู่ในแผนที่มาก่อนปีที่เกิดเหตุการณ์ทังกัสกาเลย อีกทั้งตำแหน่งของทะเลสาบยังอยู่กึ่งกลางทางตะวันตกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางที่อุกกาบาตลึกลับตกสู่โลก

ตามข้อมูลจาก ดร.ลองโก ระบุว่า สัญญาณเรดาร์นั้นแสดงให้เห็นถึงวัตถุที่มีความหนาแน่นสูงอยู่ก้นทะเลสาบ โดยฝังลึกลงไป 10 เมตร ซึ่งเป็นไปได้ว่าอาจเป็นส่วนหนึ่งของอุกกาบาตที่ถล่มทังกัสกา และทีมของเขาก็เตรียมทำการสำรวจพื้นที่ดังกล่าวในปี 2552 เพื่อหาความเป็นไปได้ในข้อสันนิษฐานดังกล่าว

ปัจจุบันมีข้อทฤษฎีต่อเหตุการณ์มาทังกัสกามากกว่า 20 ข้อ บ้างก็ว่ามาจากจานบินลึกลับ ปฏิสสาร วันสิ้นโลกและหลุมดำ แต่ก็ไม่มีทฤษฎีใดที่มีหลักฐานชี้ชัด ซึ่งเมื่อปลายเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา นักวิทยาศาสตร์จากทั่วรัสเซียก็ได้รวมตัวกันเพื่อถกเถียงเรื่องนี้ในการ ประชุมว่าด้วยเรื่องทังกัสกาโดยเฉพาะ และมีการใช้เทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์มากกว่าเทคนิคดั้งเดิม เพื่อหาสาเหตุที่ทำลายพื้นที่ไซบีเรียอันห่างไกล แต่ก็ยังไม่มีข้อสรุปใดๆ ออกมา

ขอบคุณแหล่งที่มา/http://www.manager.co.th


outdoor-bonfire-party
play-online-free
free-pc
free-flash
romantic-for-lovers
computer-game-cheats
car-parking
first-grade-math
free-mobile-game-downloads
free-toddler

ลับสมองวันหยุดกับโจทย์เก็บตก "ตะลุยแดนวิทย์-คณิต" จากมหกรรมรักการอ่าน

ห้อง เรียนห้องหนึ่ง มีนักเรียน 35 คน นักเรียนในห้องนั้นชอบภาษาญี่ปุ่น 24 คน ชอบคำนวณ 18 คน และไม่ชอบทั้งสองวิชา 4 คน มีนักเรียนกี่คนที่ชอบทั้ง 2 วิชา?

หลายคนอาจมีคำตอบอยู่ในใจ ขณะที่บางคนไม่แน่ใจว่า คำตอบที่คิดได้ถูกต้องหรือไม่ ดังนั้นเราจึงได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิมาตอบปัญหานี้ ซึ่งได้รับเกียรติจาก ผศ.ดร.สาธิต แซ่จึง อาจารย์ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่ง ได้รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ (TWAS Prize for Young Scientists in Thailand) ประจำปี 2551 มาเฉลยปัญหาคณิตศาสตร์พื้นฐานนี้..




... แต่ก่อนจะลากไปถึงเฉลย ด้านล่าง...



คุณผู้อ่านลองลับสมอง คิดกันดูเสียก่อนเป็นไร...










เฉลย

ผศ.ดร.สาธิต อธิบายว่า โจทย์ดังกล่าวเป็นปัญหาในเรื่องเซต (Set) และอธิบายว่านักเรียนที่ชอบทั้งสองวิชา แทนด้วย x คน, นักเรียนที่ชอบ(เฉพาะ)ภาษาญี่ปุ่น แทนด้วย 24-x คน,นักเรียนที่ชอบ(เฉพาะ)คำนวณ แทนด้วย 18-x คน เมื่อนำจำนวนนักเรียนทั้งที่ชอบและไม่ชอบทั้งสองวิชามารวมกันจะได้เท่ากับ 35 คน ซึ่งเป็นจำนวนนักเรียนทั้งหมด แทนค่าด้วยสมการได้

นักเรียนที่ชอบภาษาญี่ปุ่น + นักเรียนที่ชอบคำนวณ + นักเรียนที่ชอบทั้งสองวิชา + นักเรียนที่ไม่ชอบทั้งสองวิชา = 35

(24-x) + (18-x) + x + 4 = 35


46 - x = 35


x = 11


ทั้งนี้ ผศ.ดร.สาธิต อธิบายด้วยว่า โจทย์นี้เป็นตัวอย่างพื้นฐานของทฤษฎีจุดตรึง (fix point theory) ซึ่งเขาศึกษาและวิจัยอยู่ โดยทฤษฎีดังกล่าวเป็นวิธีการหาคำตอบด้วยการจัดการปัญหาที่เป็นสมการ คณิตศาสตร์ ซึ่งแม้คำถามทางคณิตศาสตร์นี้จะเป็นเนื้อหาเกี่ยวกับเซต แต่เมื่อเกิดสมการขึ้นก็จะมีเรื่องจุดตรึงเข้ามาเกี่ยวข้อง และกล่าวอีกว่า การหาคำตอบของสมการ คือเรื่องของทฤษฎีจุดตรึง.

แผนภาพแทนเซตของนัก เรียน 35 คน โดยวงกลมสีชมพูแทนจำนวนนักเรียนที่ชอบภาษาญี่ปุ่น สีเหลืองแทนจำนวนนักเรียนที่ชอบคำนวณ และสีฟ้าแทนจำนวนนักเรียนที่ไม่ชอบทั้งสองวิชา



ขอบคุณแหล่งที่มา/http://www.manager.co.th


list-of-all-tycoon
free-mobile-phone
rpg
arcade
free-online-driving-game
driving
free-download-arcade-game
printable-for-kids
games-online
internet

ปฏิบัติการ "อีราโทสทีเนส" วัดเส้นรอบวงโลกด้วยไม้แท่งเดียว

ครูผู้เข้าอบรมปฏิบัติ การอีราโทสทีเนส กำลังพลอตเงาอาทิตย์ที่ทาบบนวงกลม เพื่อหาทิศตะวันออก-ทิศตะวันตกแท้ แล้วหาทิศเหนือแท้ สำหรับกำหนดตำแหน่งที่เงาแดดจะทาบในเวลาเที่ยงตรงพอดี (ภาพจาก อพวช.)

คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น
ครูผู้เข้าอบรมปฏิบัติการอีราโทสทีเนส กำลังพลอตเงาอาทิตย์ที่ทาบบนวงกลม เพื่อหาทิศตะวันออก-ทิศตะวันตกแท้ (ภาพจาก อพวช.)

นายสวรรค์สนธิ บุณโยทยาน (ภาพจาก อพวช.)

นายสวรรค์สนธิ กับอุปกรณ์หาความยาวรอบวงโลก

หลายคนคงรู้จัก "อาร์คิมีดีส" ปราชญ์ชาวกรีก เจ้าของคำอุทาน "ยูเรกา" แต่หลายคนคงไม่ทราบว่า เขามีเพื่อนซี้ชื่อ "อีราโตสทีเนส" ที่เป็นปราชญ์เช่นเดียวกัน และมีความปราดเปรื่อง ในระดับที่ใช้ไม้แท่งเดียว วัดเส้นรอบวงของโลกได้ และเทคนิคเดียวกันนี้ ยังคงถ่ายทอดมาถึงปัจจุบัน ให้เราได้เรียนรู้ โลกและดาราศาสตร์ผ่านไม้แท่งเดียว

กว่าสองพันปีมาแล้วที่ "อีราโทสทีเนส" (Eratosthenes) ปราชญ์ชาวกรีกผู้มีชีวิตอยู่ระหว่างปี 276-194 ก่อนคริสตกาล ได้คำนวณหาเส้นรอบวงของโลก ในแนวเหนือ-ใต้ ด้วยหลักการว่า แสงอาทิตย์ส่องมายังทุกส่วนบนโลก เป็นเส้นตรงเหมือนกันหมด แต่เนื่องจากโลกเป็นทรงกลมขนาดใหญ่ ทำให้มุมตกกระทบในแต่ละพื้นที่ ไม่เท่ากัน

หากสถานที่ 2 แห่งอยู่ในตำแหน่งเหนือ-ใต้บนเส้นลองจิจูดเดียวกัน ก็สามารถคำนวณหาเส้นรอบวงของโลกได้ด้วยสูตร...

เส้นรอบวงของโลก = (ระยะทางระหว่างเมือง / ผลต่างมุมตกกระทบของดวงอาทิตย์) x 360


ทั้งนี้ ขณะปฏิบัติหน้าที่เป็นหัวหน้าห้องสมุด อยู่ที่เมืองอเล็กซานเดรีย (Alexandria) ในยุคปโตเลมีที่ 3 เขาได้ยินข่าวว่า ในวันครีษมายัน (Summer Solstice) ซึ่งเป็นที่ดวงอาทิตย์ตั้งฉากกับโลก ที่ละติจูด 23.5 องศาเหนือ ซึ่งทำให้กลางวันยาวที่สุดนั้น ที่เมืองไซอีน (Syene) หรือเมืองอัสวัน (Aswan) ในอียิปต์ปัจจุบัน ดวงอาทิตย์จะส่องแสงลงไปยังก้นบ่อน้ำตอนเที่ยงตรง ขณะที่เวลาเดียวกันนี้ ที่เมืองอเล็กซานเดรียดวงอาทิตย์ทำมุม 7 องศากว่าๆ กับแท่งเสาหินโอเบริสก์ (Obelisk)

อีราโทสทีเนสจึงได้พิสูจน์ว่า ดวงอาทิตย์ส่องไปยังก้นบ่อ ที่เมืองไซอีนตอนเที่ยงตรงจริงหรือไม่ และว่าจ้างให้คนเดินเท้า เพื่อวัดระยะทางระหว่างเมืองอเล็กซานเดรีย และเมืองไซอีนแบบก้าวต่อก้าว ซึ่งได้ระยะทาง 5,000 สตาเดีย ตามหน่วยวัดของกรีกโบราณ

ส่วนผลต่าง 7.2 องศา ประมาณได้เท่ากับ 1/50 ของ 360 องศา
จึงคำนวณเส้นรอบวงของโลกออกมา ได้เท่ากับ 250,000 สตาเดีย

ทั้งนี้เชื่อกันว่า 1 สตาเดียเท่ากับ 185 เมตร ดังนั้นระยะทางที่เขาคำนวณได้ น่าจะประมาณ 46,250 กิโลเมตร ซึ่งมีความคลาดเคลื่อน 14%
เมื่อเทียบกับข้อมูล ที่วัดด้วยดาวเทียมจากองค์การบริหารการบินและอวกาศสหรัฐฯ (นาซา)

แม้ว่า วิธีคำนวณของอีราโทสจะมีความคลาดเคลื่อน ไปจากข้อมูลที่วัดได้ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ แต่ก็เป็นหลักการ ที่ทำให้เราเข้าใจโลกและดาราศาสตร์ได้อย่างดี

ทางองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) จึงได้จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ "อีราโตสทีเนส: วัดโลกทั้งใบด้วยไม้แท่งเดียว" ระหว่างวันที่ 22-23 ก.ย.51 ณ อพวช. ให้แก่ครูจากทั่วประเทศกว่า 30 ชีวิต โดยมีวิทยากรคือ นายสรรค์สนธิ บุณโยทยาน หัวหน้าส่วนราชการเกษตรและสหกรณ์ จ.สกลนคร ซึ่งศึกษาดาราศาสตร์ที่ศึกษาด้วยตัวเองกว่า 30 ปี และเป็นเจ้าของงานเขียนพอคเก็ตบุ๊ค "สุริยะปฏิทินพันปี"

นายสรรค์สนธิ อธิบายระหว่างการอบรมซึ่งผู้จัดการวิทยาศาสตร์ได้ร่วมสังเกตการณ์ว่า ความคลาดเคลื่อนของอีราโทสทีเนสนั้น เกิดจากเมืองอเล็กซานเดรียและไซรีนไม่ได้อยู่ในแนวลองติจูดเดียวกัน และการนับก้าวเดินนั้นมีข้อบกพร่องที่ง่ายมาก

ทั้งนี้ เมื่อปีที่ผ่านมา เขาได้เป็นวิทยากรในปฏิบัติการเดียวกันนี้ ซึ่งมีการทดลองหาความยาวเส้นรอบวงโลก ระหว่างโรงเรียนศรีบัวบานวิทยาคม อ.เมือง จ.นครพนม และโรงเรียนอัมพวันวิทยา อ.ม่วงสามสิบ จ.อุบลราชธานี ซึ่งอยูในตำแหน่งลองติจูดที่ใกล้เคียงกัน

เขาใช้สมุดแผนที่ทางหลวง ในการหาตำแหน่งโรงเรียนสองแห่งที่ตรงกัน และใช้เป็นคู่มือในการคำนวณระยะห่าง จากอัตราส่วน 1:1,000,000 ซึ่งเท่ากับ 1 เซนติเมตร ต่อ 10 กิโลเมตร โดยผลจากการทดลองของโรงเรียนทั้งสองได้ความยาวเส้นรอบวงโลก 36,000 มีความคลาดเคลื่อน 10%

สำหรับขั้นตอนในการทดลองนั้น นายสรรค์สนธิชี้แจงว่า ใช้เสาที่มีความสูง 1-1.5 เมตร ติดตั้งให้ตั้งฉากกับพื้นราบ โดยเสานี้มีชื่อภาษากรีกว่า "โนมอน" (Gnomon) ซึ่งใช้เป็นวัตถุ ให้เงาทาบในเวลาเที่ยงตรง (Solar noon) โดยเงาจะชี้ไปทางทิศเหนือแท้ (Geographic north)

จากนั้นวัดความยาวของเงาที่ได้ ซึ่งนำมาคำนวณหามุมที่ดวงอาทิตย์ตกกระทบในเวลาเที่ยงตรงได้จากสูตร...

tan a = ความยาวของเงา/ ความสูงของเสาโนมอน ; โดย a = มุมที่ดวงอาทิตย์ตกกระทบในเวลาเที่ยงตรง


แล้วนำมุมที่คำนวณได้นี้ ไปเป็นข้อมูลในการวัดความยาวรอบวงของโลก ซึ่งจำเป็นต้องร่วมทดลอง ระหว่างโรงเรียนที่อยู่ในตำแหน่งลองติจูดเดียวกัน

แต่ก่อนจะไปถึงการทดลองดังกล่าว จำเป็นต้องหาทิศเหนือแท้ให้ได้เสียก่อน ซึ่งต้องทดลอง ก่อนวันทดลองหาความยาวรอบวงโลก

ส่วนการทดลองหาทิศเหนือแท้นั้น ทำได้ด้วยวิธีพลอตเงาแสงอาทิตย์ (Shadow plot) โดยตั้งเสาโนมอน ตรงกลางวงกลมที่ซ้อนกันหลายๆ ชั้น แล้วบันทึกจุดที่เงาสัมผัสวงกลมพอดี ตั้งแต่เช้าจนบ่าย จากนั้นลากเส้นตรงผ่านจุดที่ตัดวงกลมเดียวกัน ซึ่งจะได้แนวทิศตะวันออก-ตะวันตกแท้ และทิศเหนือแท้จะอยู่ในแนวตั้งฉากกับเส้นดังกล่าว

นายสรรค์สนธิกล่าวว่า สามารถทำการทดลองนี้ตลอดทั้งปี แต่สำหรับโรงเรียนหรือใครที่ต้องการทดลองเดี่ยว สามารถทดลองได้ในวัน "วิษุวัต " (equinox) ซึ่งเป็นวันที่กลางวันยาวเท่ากลางคืน และเป็นวันที่ดวงอาทิตย์ทำมุมตกกระทบกับเส้นศูนย์สูตรโลกเท่ากับ 0 องศา โดยมีวันดังกล่าวปีละ 2 วัน คือ วันที่ 21 มี.ค.และ 23 ก.ย.

ส่วนครูผู้เข้าอบรมครั้งนี้ ได้เลือกทดลองในวันที่ 23 ก.ย. ซึ่งเป็นวันศารทวิษุวัตฤดูใบไม้ร่วง (Autumnal Equinox) และหากเดินทางไปซีกโลกเหนือในวันดังกล่าว จะเห็นใบไม้เริ่มเป็นสีเหลือง

สำหรับประโยชน์ของการศึกษาเรื่องนี้ นายสรรค์สนธิกล่าวว่า ช่วยให้เด็กที่เรียนคณิตศาสตร์ ได้รู้จักที่มาของความรู้ ไม่ขาดเหตุผล เพราะการเรียนวิทยาศาสตร์ไม่ได้ต้องการแค่ผลลัพธ์ ซึ่งการใช้คอมพิวเตอร์ทุกวันนี้ ก็ใช้คณิตศาสตร์ที่มีมาแต่โบราณ ไม่ได้ใหม่ เพียงแต่ช่วยให้เราทำงานเร็วขึ้น

"นักวิทยาศาสตร์ต้องขี้สงสัย ต้องรู้จักถามตลอดว่า "ทำไม" ซึ่งหากรู้จักสงสัยในเชิงบวกจะช่วยให้นำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้เยอะ" นายสรรค์สนธิกล่าว และเขายังยกตัวอย่างด้วยว่า มีการทดลองลักษณะนี้ ในการเรียนการสอนทั่วโลก อาทิ สหรัฐฯ สเปน และออสเตรเลีย เป็นต้น ซึ่งนอกจากนักเรียนแล้ว บางประเทศ ยังมีผู้ปกครอง มาร่วมทดลองกับบุตรหลานด้วย

แม้ว่าการทดลองนี้ จะเป็นเรื่องที่นักปราชญ์กรีกได้คิดขึ้นมากว่าสองพันปีแล้ว แต่เทคนิคที่เรียบง่าย ทำให้เราสามารถเรียนรู้โลกและดาราศาสตร์ได้ด้วยตัวเอง โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งพาอุปกรณ์ไฮเทคอย่างดาวเทียม ซึ่งมีข้อจำกัดที่เราไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลดังกล่าวได้ทุกคน.

ขอบคุณแหล่งที่มา/http://www.manager.co.th


board
cool
free-downloadable-for-mobiles
mahjong
spongebob
bratz
computer
free-online-play
free-computer
free-online-rpg

Hello

taninhomsat